“สถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหลังพบ “ผู้กองปอยเปต” โผล่อีกหนึ่งราย อ้างเป็น ตร.สภ.แม่โจ้ หลอกโอนเงิน-ล้วงข้อมูลส่วนตัวเหยื่อ
•
วันนี้ (17 ก.พ.) เพจ “สถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” โพสต์เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหลังพบ “ผู้กองปอยเปต” โผล่อีกหนึ่งราย โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่โจ้ หลอกโอนเงิน-ล้วงข้อมูลส่วนตัวเหยื่อ
•
ทางเพจระบุข้อความว่า “ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพที่ใช้วิธีโทรศัพท์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่โจ้ เพื่อหลอกลวงให้โอนเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัว โดยมักใช้ข้ออ้าง เช่น
•
1. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ - โทรศัพท์มาหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานใหญ่ของบริษัทโทรคมนาคม (ทรู) หรือหน่วยงานรัฐ
•
2. อ้างว่ามีข้อมูลรั่วไหล - หลอกว่าข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อถูกนำไปใช้ในกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่น การเชื่อมต่อกล่องมือถือเพื่อรับสัญญาณจากต่างประเทศ หรือโทร.หลอกลวงผู้อื่น
•
3. ใช้ศัพท์เทคนิคเพื่อทำให้ดูน่าเชื่อถือ - พูดถึงเรื่อง “อาชญากรรมทางเทคโนโลยี” และ “การดัดแปลงสัญญาณ” เพื่อให้เหยื่อตกใจและสับสน
•
4. ขอให้เหยื่อติดต่อกลับด่วน - อ้างว่าต้องแจ้งกลับด่วนภายในเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างความกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ
•
5. ให้เบอร์โทร./แฟกซ์ปลอม - มักให้เบอร์ที่ดูเหมือนเป็นหน่วยงานจริงเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ
•
6. อาจนำไปสู่การหลอกให้โอนเงิน - หากเหยื่อติดต่อกลับ อาจถูกหลอกให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบหรือปลดล็อกปัญหาที่ถูกกล่าวหา
•
คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000015684
•
#MGROnline “สถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหลังพบ “ผู้กองปอยเปต” โผล่อีกหนึ่งราย อ้างเป็น ตร.สภ.แม่โจ้ หลอกโอนเงิน-ล้วงข้อมูลส่วนตัวเหยื่อ
•
วันนี้ (17 ก.พ.) เพจ “สถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่” โพสต์เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหลังพบ “ผู้กองปอยเปต” โผล่อีกหนึ่งราย โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่โจ้ หลอกโอนเงิน-ล้วงข้อมูลส่วนตัวเหยื่อ
•
ทางเพจระบุข้อความว่า “ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพที่ใช้วิธีโทรศัพท์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่โจ้ เพื่อหลอกลวงให้โอนเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัว โดยมักใช้ข้ออ้าง เช่น
•
1. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ - โทรศัพท์มาหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานใหญ่ของบริษัทโทรคมนาคม (ทรู) หรือหน่วยงานรัฐ
•
2. อ้างว่ามีข้อมูลรั่วไหล - หลอกว่าข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อถูกนำไปใช้ในกิจกรรมผิดกฎหมาย เช่น การเชื่อมต่อกล่องมือถือเพื่อรับสัญญาณจากต่างประเทศ หรือโทร.หลอกลวงผู้อื่น
•
3. ใช้ศัพท์เทคนิคเพื่อทำให้ดูน่าเชื่อถือ - พูดถึงเรื่อง “อาชญากรรมทางเทคโนโลยี” และ “การดัดแปลงสัญญาณ” เพื่อให้เหยื่อตกใจและสับสน
•
4. ขอให้เหยื่อติดต่อกลับด่วน - อ้างว่าต้องแจ้งกลับด่วนภายในเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างความกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ
•
5. ให้เบอร์โทร./แฟกซ์ปลอม - มักให้เบอร์ที่ดูเหมือนเป็นหน่วยงานจริงเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ
•
6. อาจนำไปสู่การหลอกให้โอนเงิน - หากเหยื่อติดต่อกลับ อาจถูกหลอกให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบหรือปลดล็อกปัญหาที่ถูกกล่าวหา
•
คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000015684
•
#MGROnline