🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน01🤠
ในปี 1975 เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
แม้ว่าเวียดนามจะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่เวียดนามก็ค่อย ๆ พัฒนาโครงสร้างอำนาจสูงสุดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในทางการเมือง และในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังได้ก่อให้เกิดสิ่งที่โลกภายนอกเรียกว่าโครงสร้าง "รถเทียมม้าสี่ตัว"
สิ่งที่เรียกว่า"รถเทียมม้าสี่ตัว" กล่าวคือ มีสี่คนดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาเวียดนาม ตามลำดับ และแทบจะไม่มีปรากฏการณ์ทำงวนควบตำแหน่งเกิดขึ้นเลย
นี่เป็นระบบสมดุลเหนือใต้ที่มีเอกลักษณ์และยังเป็นกฎที่ไม่ได้เขียนไว้สำหรับองค์ประกอบของอำนาจ
ไม่เพียงเท่านี้ โดยทั่วไปแล้วผู้นำจากทางเหนือจะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดกงจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง พร้อมทั้งรักษาความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของประเทศให้มีเสถียรภาพ
และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำที่กระตือรือร้นใส่ใจในทางเศรษฐกิจซึ่งมาจากภาคใต้ รับผิดชอบงานเศรษฐกิจและการปฏิรูปเศรษฐกิจ
โครงสร้างอำนาจนี้ดูมีเสถียรภาพ แต่จริงๆ แล้วเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนและการประนีประนอมกันหลายครั้งในแวดวงการเมืองเวียดนาม และไม่มีเสถียรภาพมากนัก ในขณะที่การปฏิรูปของเวียดนามยังคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น การต่อสู้เพื่ออำนาจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
สิ่งนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
ส่งผลให้เศรษฐกิจการเมืองของเวียดนามแสดงออกถึงความแตกแยก
ทางตอนเหนือซึ่งมีฮานอยเป็นศูนย์กลางทางการเมือง มีแนวโน้มไปทางลัทธิสังคมนิยมมากกว่า ในขณะที่ทางตอนใต้ที่มีโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเมืองไซง่อนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นสังคมทุนนิยมมากกว่า
โฮจิมินห์ซิตี้ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามและเป็นแรงผลักดันหลักในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเวียดนาม
ภูมิทัศน์ทางการเมืองในปัจจุบันในเวียดนามก็เป็นสถานการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย"รถเทียมม้าสี่ตัว"เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ต้องคำนึงถึงภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้มักจะผลัดกันรับผิดชอบดูแลซึ่งกันและกัน ดังนั้นด้วยความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ,เวียดนามจะแตกแยกอีกไหม?
ในความเป็นจริง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เวียดนามอยู่ในยุคแห่งการแบ่งแยกและการเผชิญหน้าระหว่างเหนือและใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากการแตกแยกในระยะยาว ช่องว่างและความบาดหมางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม ก็กว้างขึ้นเรื่อยๆ
หากดูแผนที่ของเวียดนามจะพบว่าภูมิประเทศของเวียดนามนั้นยาวและแคบ เป็นรูปตัว S มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,600 กิโลเมตร และจุดที่แคบที่สุดจากตะวันออกไปตะวันตกเพียง 50 กิโลเมตร เหมือนงูยาวที่เกาะอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน
เนื่องจากลำตัวของงูยาวตัวนี้เรียวเกินไป จึงสามารถตัดที่เอวได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้
ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของจีน เวียดนามตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของจีนมายาวนาน จนกระทั่งสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร(五代十国) เวียดนามถือโอกาสจากการแตกแยกล่มสลายของจีน ปลดตนเองจากการควบคุมของจีนและสถาปนาประเทศเอกราช
บางทีอาจเป็นเพราะการแยกทางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาว เวียดนามยังเผชิญการเผชิญหน้าระหว่างเหนือ-ใต้เช่นเดียวกับราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ(南北朝)ของจีน และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว
ในปีคริสตศักราช 1428 จักรพรรดิเล ท้าย โต๋( Lê Thái Tổ 黎太祖)มีพระนามเดิมว่า เล เหล่ย (Lê Lợi, 黎利)ได้สถาปนาราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ขึ้นในเมืองทังล็อง(Thăng Long升龙)ซึ่งปัจจุบันคือฮานอย หนึ่งร้อยปีหลังจากการสถาปนาประเทศ เจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้มีอำนาจในราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้แย่งชิงบัลลังก์ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ์ และสังหารหมู่ตระกูลราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ราชวงศ์หมัก (เหนือ)( Nhà Mạc 莫朝)
แต่ต่อมาขุนนางผู้ภักดี ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)แห่งราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้พบทายาทของราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ทางตอนใต้ของเวียดนาม ให้เคารพเขาในฐานะจักรพรรดิ และสถาปนาราชวงศ์ ราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝) ขึ้นมาใหม่ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างระบอบการปกครองทางเหนือและทางใต้
ในช่วงการแบ่งแยกเหนือใต้ ระบอบแบ่งแยกดินแดนในท้องถิ่นก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การสูญเสียอำนาจและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอำนาจทางการเมือง
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวียดนามก็อยู่ในช่วงแห่งการแบ่งแยกเนื่องจากข้อพิพาทระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ภาคเหนือและภาคใต้ได้ทำสงครามกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะกำหนดผลลัพธ์ของการแพ้ชนะ และในท้ายที่สุดพวกเขาก็ได้แต่กำหนดเขตแดน ก่อให้เกิดสถานการณ์ของ ภาคใต้ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)และภาคเหนือตระกูลตรินห์(Trinh鄭)
ผู้ปกครองเหงียน (Nguyen阮)ทางตอนใต้เติบโตในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 การปกครองของพวกเขากินเวลานานถึงสองศตวรรษและใช้มาตรการต่างๆ มากมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ
การต่อต้านและการแบ่งแยกโดยพฤตินัยนี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รุนแรงขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และแม้แต่วัฒนธรรมของเวียดนามในรุ่นต่อ ๆ ไป
เมื่อพูดถึงเวียดนามยังเป็นเช่นนี้ การแบ่งแยกภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาวย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและประเพณีความแตกต่างเหล่านี้สะท้อนถึงความหลากหลายของประเทศในยามสงบอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศและในประเทศไม่มั่นคง ก็อาจเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่และสามารถถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายโดยผู้ที่มีเจตนาร้าย ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
ในยุคปัจจุบัน เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามใต้และเวียดนามเหนืออีกครั้ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเหนือ-ใต้โดยพฤตินัย
แต่เช่นเดียวกับจีน เนื่องจากความเคยชินทางประวัติศาสตร์ เวียดนามมีประสบการณ์ในการรวมชาติเหนือและภาคใต้เข้าด้วยกัน พลังการรวมเข้าสู่ศูนย์กลางของชาติในประเทศนั้นแข็งแกร่งมาก และในที่สุดประเทศก็รวมเป็นหนึ่งเดียวในช่วงกลางทศวรรษ 1970
แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การแทรกแซงของอาณานิคมของยุโรปและการมาถึงของยุคอาณานิคมทำให้การแบ่งแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศสมีความสนใจเวียดนามดินแดนมหาสมบัติแห่งนี้ และขยายอาณาเขตอาณานิคมของตนมาถึงที่นี่ ในเวลานั้น รัฐบาลชิง(清)เป็นเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) ของเวียดนาม แต่ด้วยการลงนามใน “สนธิสัญญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin中法新約)” รัฐบาลชิง(清)ที่ล้าหลังและไร้ความสามารถถูกบังคับให้สละอำนาจของเจ้านครสมัยศักดินา (suzerainty宗主权)ของตน
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1884 ฝรั่งเศสและเวียดนามลงนามในสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของเวียดนามโดยสมบูรณ์ อาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน( Indochina印度支那) และการสถาปนาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นสู่ยุคอาณานิคมของเวียดนาม
เพื่อให้ปกครองอาณานิคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวฝรั่งเศสจึงใช้กลยุทธ์ "แบ่งแยกและปกครอง"และแบ่งเวียดนามออกเป็นสามส่วน ได้แก่ เขตแดนตอนเหนือ.....ตังเกี๋ย (Tonkin东京) เขตแดนตอนกลาง.....อันนัม(Annam安南)และเขตแดนตอนใต้.....โคชินชินา(Cochinchina交趾支那)
ยิ่งไปกว่านั้น เขตแดนตอนใต้ยังเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง เขตแดนตอนกลางเป็นรัฐในอารักขา และเขตแดนตอนเหนือเป็นกึ่งอารักขา
ตามบทบัญญัติของสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ฝรั่งเศสได้จัดตั้ง "ระบบการอารักขา(protectorate保护)" ในตังเกี๋ย (Tonkin东京)และอันนัม(Annam安南) ซึ่งอนุญาตให้ราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)ปกครองในนาม โดยแท้จริงแล้วจักรพรรดิได้กลายเป็นหุ่นเชิดไปแล้ว
จากมุมมองของระบบการเมืองเวียดนามโดยพื้นฐานแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ทางใต้เป็นดินแดนภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง และทางเหนือเป็นระบอบการปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส
ด้วยการแทรกแซงของฝรั่งเศสความแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจน ประกอบกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ในขณะที่ภาคใต้มีภูมิประเทศที่ราบเรียบ และยังมีอ่าวทะเลธรรมชาติและสวยงามเหมาะกับท่าเรือมากมายหลายแห่ง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่กองกำลังต่างชาติที่รุกรานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ ในขณะที่กองกำลังต่อต้านแห่งชาติของเวียดนามกระจุกตัวอยู่ที่ภาคเหนือ
ก่อนการมาถึงของฝรั่งเศส ระบบรัฐของเวียดนามเป็นแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามแบบอย่างของจีนในการคัดเลือกข้าราชการผ่านระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制) ระบบการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบโรงเรียนเอกชน และเรื่องของอุดมการณ์ยังคงเป็นวัฒนธรรมขงจื๊อแบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของนักล่าอาณานิคม อุดมการณ์ตัวหลักของเวียดนามก็ได้รับผลกระทบ และความแตกต่างในระดับภูมิภาคก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือเมื่อชาวอเมริกันเข้ามาแทรกแซง เนื่องจากระบบการเมืองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อุดมการณ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังจะเห็นได้จากคาบสมุทรเกาหลีที่ภาคเหนือและภาคใต้ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่
หลังจากที่ฝรั่งเศสสถาปนาการปกครองอาณานิคมแล้ว ฝรั่งเศสย่อมดำเนินนโยบายการดูดซึมหลอมสลายอาณานิคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เผยแพร่ความคิดอุดมการณ์และวัฒนธรรมของเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) และดำเนินการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม เพื่อจัดหาอาวุธทางอุดมการณ์อันทรงพลังเพื่อเสริมสร้างและรวบรวมการปกครองให้เข้าด้วยกันของอาณานิคม
ชาวฝรั่งเศสก็เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเวียดนามและฝึกอบรมนักแปล ฝรั่งเศสได้เปิดโรงเรียนสองภาษาในเวียดนามตอนใต้ และกำหนดนโยบาย "การดูดซึมหลอมสลาย" ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 เพื่อเตรียมขยายการศึกษาแนวรูปแบบฝรั่งเศสสมัยใหม่ไปยังทุกหนทุกแห่งของภาคใต้ .
อย่างไรก็ตาม ทางภาคเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮) ดังนั้นการสอบคัดเลือกโดยการสอบของจักรพรรดิ(科举制)แบบดั้งเดิมจึงยังคงถูกนำมาใช้ในภูมิภาคนี้ และการศึกษายังคงขึ้นอยู่กับระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)เป็นหลัก พลังของการศึกษาสไตล์แบบตะวันตกนั้นยังอ่อนแอมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)ของเวียดนามจนกระทั่งปีค.ศ. 1919 จึงค่อยถูกยกเลิก ซึ่งช้ากว่าจีนถึงสิบสี่ปี จากสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกและความแตกต่างในด้านการศึกษาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้
ความแตกต่างในระบบการศึกษานี้นำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ผลกระทบของความแตกต่างนี้มีมายาวนานและกว้างขวาง
ในช่วงทศวรรษที่ 1940 เวียดนามตอนใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากการศึกษาของตะวันตก ลัทธิขงจื๊อแบบคลาสสิกถูกละทิ้งไปนานแล้ว และเริ่มคิดถึงแนวคิดสมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ ความสามารถพิเศษ และอารยธรรม อย่างไรก็ตาม ครอบครัวข้าราชการท้องถิ่นในภาคเหนือยังคงถือว่าลัทธิขงจื๊อเป็นวัฒนธรรมและถือเป็นสมบัติ
หลังจากที่ชาวอเมริกันรับช่วงต่อจากฝรั่งเศสในฐานะผู้ควบคุมที่แท้จริงของเวียดนามใต้ พวกเขายังคงมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติจริงและความคิดริเริ่มของนักเรียน ส่งเสริมการฝึกฝนผู้มีความสามารถในภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือเน้นปลูกฝังความรักชาติและการรู้หนังสือการอ่านออกเขียนได้ และเสนอให้เผยแพร่การศึกษาแก่คนส่วนใหญ่ของประชาชนในหมู่คนทำงาน
กล่าวได้ง่ายๆว่า เวียดนามทางภาคใต้สิ่งที่ดำเนินการคือการศึกษาชั้นยอดระดับหัวกะทิ และมุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังความสามารถพิเศษของบุคคล ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในภาคเหนือคือการเผยแพร่ระดับมาตรฐานการรู้หนังสือ
ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างภาคเหนือและภาคใต้นำไปสู่การขยายความแตกต่างทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมระหว่างภาคเหนือและภาคใต้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วเวียดนามทางภาคใต้ได้รับอิทธิพลเปลี่ยนแปลงเอนเอียงไปทางตะวันตก ในขณะที่เวียดนามทางภาคเหนือได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ การแตกแยกจากกันและความแตกต่างเช่นนี้ แม้หลังจากการรวมตัวกันของภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้ง เนื่องจากความเคยชินเฉื่อยชาและความสนใจทางประวัติศาสตร์รวมทั้งผลประโยขน์ต่างๆ ทั้งสองก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเวลาอันสั้น
ใครก็ตามที่คุ้นเคยกับเวียดนามจะรู้ดีว่าช่องว่างระหว่างเวียดนามเหนือและใต้นั้นค่อนข้างใหญ่ และช่องว่างก็มีแนวโน้มกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เวียดนามตอนเหนือส่วนใหณ่เป็นภูเขา ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบ และมีอ่าวทะเลเหมาะกับทำท่าเรือและสถานที่ท่องเที่ยวรีสอร์ทที่ดีเยี่ยมหลายแห่ง ซึ่งทำให้สภาพเงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้โดยธรรมชาติแล้วดีกว่าทางภาคเหนือ
เช่นเดียวกับจีน โฮจิมินห์ซิตี้ทางตอนใต้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามในฐานะเมืองหลวงของเวียดนามใต้
ก่อนการรวมตัวของประเทศ โฮจิมินห์ซิตี้เป็นที่รู้จักในนามไซ่ง่อน เป็นศูนย์กลางการปกครองและเขตปกครองหลายแห่งของมหาอำนาจตะวันตก และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "ปารีสน้อยแห่งตะวันออก"
😎โปรดติดตามบทความ
#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02 ที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎
🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
🤠#เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน01🤠
ในปี 1975 เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
แม้ว่าเวียดนามจะรวมเป็นหนึ่งเดียว แต่เวียดนามก็ค่อย ๆ พัฒนาโครงสร้างอำนาจสูงสุดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในทางการเมือง และในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังได้ก่อให้เกิดสิ่งที่โลกภายนอกเรียกว่าโครงสร้าง "รถเทียมม้าสี่ตัว"
สิ่งที่เรียกว่า"รถเทียมม้าสี่ตัว" กล่าวคือ มีสี่คนดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภาเวียดนาม ตามลำดับ และแทบจะไม่มีปรากฏการณ์ทำงวนควบตำแหน่งเกิดขึ้นเลย
นี่เป็นระบบสมดุลเหนือใต้ที่มีเอกลักษณ์และยังเป็นกฎที่ไม่ได้เขียนไว้สำหรับองค์ประกอบของอำนาจ
ไม่เพียงเท่านี้ โดยทั่วไปแล้วผู้นำจากทางเหนือจะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดกงจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง พร้อมทั้งรักษาความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของประเทศให้มีเสถียรภาพ
และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำที่กระตือรือร้นใส่ใจในทางเศรษฐกิจซึ่งมาจากภาคใต้ รับผิดชอบงานเศรษฐกิจและการปฏิรูปเศรษฐกิจ
โครงสร้างอำนาจนี้ดูมีเสถียรภาพ แต่จริงๆ แล้วเป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนและการประนีประนอมกันหลายครั้งในแวดวงการเมืองเวียดนาม และไม่มีเสถียรภาพมากนัก ในขณะที่การปฏิรูปของเวียดนามยังคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น การต่อสู้เพื่ออำนาจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
สิ่งนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
ส่งผลให้เศรษฐกิจการเมืองของเวียดนามแสดงออกถึงความแตกแยก
ทางตอนเหนือซึ่งมีฮานอยเป็นศูนย์กลางทางการเมือง มีแนวโน้มไปทางลัทธิสังคมนิยมมากกว่า ในขณะที่ทางตอนใต้ที่มีโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นเมืองไซง่อนเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเป็นสังคมทุนนิยมมากกว่า
โฮจิมินห์ซิตี้ยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามและเป็นแรงผลักดันหลักในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเวียดนาม
ภูมิทัศน์ทางการเมืองในปัจจุบันในเวียดนามก็เป็นสถานการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย"รถเทียมม้าสี่ตัว"เช่นกัน ในสถานการณ์ที่ต้องคำนึงถึงภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้มักจะผลัดกันรับผิดชอบดูแลซึ่งกันและกัน ดังนั้นด้วยความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ,เวียดนามจะแตกแยกอีกไหม?
ในความเป็นจริง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 เวียดนามอยู่ในยุคแห่งการแบ่งแยกและการเผชิญหน้าระหว่างเหนือและใต้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากการแตกแยกในระยะยาว ช่องว่างและความบาดหมางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม ก็กว้างขึ้นเรื่อยๆ
หากดูแผนที่ของเวียดนามจะพบว่าภูมิประเทศของเวียดนามนั้นยาวและแคบ เป็นรูปตัว S มีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,600 กิโลเมตร และจุดที่แคบที่สุดจากตะวันออกไปตะวันตกเพียง 50 กิโลเมตร เหมือนงูยาวที่เกาะอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน
เนื่องจากลำตัวของงูยาวตัวนี้เรียวเกินไป จึงสามารถตัดที่เอวได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างเหนือและใต้
ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของจีน เวียดนามตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของจีนมายาวนาน จนกระทั่งสมัยห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร(五代十国) เวียดนามถือโอกาสจากการแตกแยกล่มสลายของจีน ปลดตนเองจากการควบคุมของจีนและสถาปนาประเทศเอกราช
บางทีอาจเป็นเพราะการแยกทางระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาว เวียดนามยังเผชิญการเผชิญหน้าระหว่างเหนือ-ใต้เช่นเดียวกับราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ(南北朝)ของจีน และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว
ในปีคริสตศักราช 1428 จักรพรรดิเล ท้าย โต๋( Lê Thái Tổ 黎太祖)มีพระนามเดิมว่า เล เหล่ย (Lê Lợi, 黎利)ได้สถาปนาราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ขึ้นในเมืองทังล็อง(Thăng Long升龙)ซึ่งปัจจุบันคือฮานอย หนึ่งร้อยปีหลังจากการสถาปนาประเทศ เจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้มีอำนาจในราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้แย่งชิงบัลลังก์ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ์ และสังหารหมู่ตระกูลราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ราชวงศ์หมัก (เหนือ)( Nhà Mạc 莫朝)
แต่ต่อมาขุนนางผู้ภักดี ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)แห่งราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ได้พบทายาทของราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝)ทางตอนใต้ของเวียดนาม ให้เคารพเขาในฐานะจักรพรรดิ และสถาปนาราชวงศ์ ราชวงศ์เหิ่วเล(Later Lê dynasty後黎朝) ขึ้นมาใหม่ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างระบอบการปกครองทางเหนือและทางใต้
ในช่วงการแบ่งแยกเหนือใต้ ระบอบแบ่งแยกดินแดนในท้องถิ่นก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การสูญเสียอำนาจและการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอำนาจทางการเมือง
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวียดนามก็อยู่ในช่วงแห่งการแบ่งแยกเนื่องจากข้อพิพาทระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ภาคเหนือและภาคใต้ได้ทำสงครามกันหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะกำหนดผลลัพธ์ของการแพ้ชนะ และในท้ายที่สุดพวกเขาก็ได้แต่กำหนดเขตแดน ก่อให้เกิดสถานการณ์ของ ภาคใต้ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)และภาคเหนือตระกูลตรินห์(Trinh鄭)
ผู้ปกครองเหงียน (Nguyen阮)ทางตอนใต้เติบโตในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 และก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 การปกครองของพวกเขากินเวลานานถึงสองศตวรรษและใช้มาตรการต่างๆ มากมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ
การต่อต้านและการแบ่งแยกโดยพฤตินัยนี้ทำให้ความแตกต่างระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รุนแรงขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และแม้แต่วัฒนธรรมของเวียดนามในรุ่นต่อ ๆ ไป
เมื่อพูดถึงเวียดนามยังเป็นเช่นนี้ การแบ่งแยกภาคเหนือและภาคใต้ในระยะยาวย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและประเพณีความแตกต่างเหล่านี้สะท้อนถึงความหลากหลายของประเทศในยามสงบอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ระหว่างประเทศและในประเทศไม่มั่นคง ก็อาจเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่และสามารถถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายโดยผู้ที่มีเจตนาร้าย ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
ในยุคปัจจุบัน เวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามใต้และเวียดนามเหนืออีกครั้ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเหนือ-ใต้โดยพฤตินัย
แต่เช่นเดียวกับจีน เนื่องจากความเคยชินทางประวัติศาสตร์ เวียดนามมีประสบการณ์ในการรวมชาติเหนือและภาคใต้เข้าด้วยกัน พลังการรวมเข้าสู่ศูนย์กลางของชาติในประเทศนั้นแข็งแกร่งมาก และในที่สุดประเทศก็รวมเป็นหนึ่งเดียวในช่วงกลางทศวรรษ 1970
แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การแทรกแซงของอาณานิคมของยุโรปและการมาถึงของยุคอาณานิคมทำให้การแบ่งแยกระหว่างภาคเหนือและภาคใต้รุนแรงขึ้น
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศสมีความสนใจเวียดนามดินแดนมหาสมบัติแห่งนี้ และขยายอาณาเขตอาณานิคมของตนมาถึงที่นี่ ในเวลานั้น รัฐบาลชิง(清)เป็นเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) ของเวียดนาม แต่ด้วยการลงนามใน “สนธิสัญญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin中法新約)” รัฐบาลชิง(清)ที่ล้าหลังและไร้ความสามารถถูกบังคับให้สละอำนาจของเจ้านครสมัยศักดินา (suzerainty宗主权)ของตน
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1884 ฝรั่งเศสและเวียดนามลงนามในสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ซึ่งถือเป็นการล่มสลายของเวียดนามโดยสมบูรณ์ อาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน( Indochina印度支那) และการสถาปนาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นสู่ยุคอาณานิคมของเวียดนาม
เพื่อให้ปกครองอาณานิคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวฝรั่งเศสจึงใช้กลยุทธ์ "แบ่งแยกและปกครอง"และแบ่งเวียดนามออกเป็นสามส่วน ได้แก่ เขตแดนตอนเหนือ.....ตังเกี๋ย (Tonkin东京) เขตแดนตอนกลาง.....อันนัม(Annam安南)และเขตแดนตอนใต้.....โคชินชินา(Cochinchina交趾支那)
ยิ่งไปกว่านั้น เขตแดนตอนใต้ยังเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง เขตแดนตอนกลางเป็นรัฐในอารักขา และเขตแดนตอนเหนือเป็นกึ่งอารักขา
ตามบทบัญญัติของสนธิสัญญาเว้(The Treaty of Huế顺化条约)ฝรั่งเศสได้จัดตั้ง "ระบบการอารักขา(protectorate保护)" ในตังเกี๋ย (Tonkin东京)และอันนัม(Annam安南) ซึ่งอนุญาตให้ราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮)ปกครองในนาม โดยแท้จริงแล้วจักรพรรดิได้กลายเป็นหุ่นเชิดไปแล้ว
จากมุมมองของระบบการเมืองเวียดนามโดยพื้นฐานแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ทางใต้เป็นดินแดนภายใต้เขตอำนาจของฝรั่งเศสโดยตรง และทางเหนือเป็นระบอบการปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส
ด้วยการแทรกแซงของฝรั่งเศสความแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนามเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจน ประกอบกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ในขณะที่ภาคใต้มีภูมิประเทศที่ราบเรียบ และยังมีอ่าวทะเลธรรมชาติและสวยงามเหมาะกับท่าเรือมากมายหลายแห่ง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่กองกำลังต่างชาติที่รุกรานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ ในขณะที่กองกำลังต่อต้านแห่งชาติของเวียดนามกระจุกตัวอยู่ที่ภาคเหนือ
ก่อนการมาถึงของฝรั่งเศส ระบบรัฐของเวียดนามเป็นแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามแบบอย่างของจีนในการคัดเลือกข้าราชการผ่านระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制) ระบบการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบโรงเรียนเอกชน และเรื่องของอุดมการณ์ยังคงเป็นวัฒนธรรมขงจื๊อแบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของนักล่าอาณานิคม อุดมการณ์ตัวหลักของเวียดนามก็ได้รับผลกระทบ และความแตกต่างในระดับภูมิภาคก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือเมื่อชาวอเมริกันเข้ามาแทรกแซง เนื่องจากระบบการเมืองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อุดมการณ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังจะเห็นได้จากคาบสมุทรเกาหลีที่ภาคเหนือและภาคใต้ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่
หลังจากที่ฝรั่งเศสสถาปนาการปกครองอาณานิคมแล้ว ฝรั่งเศสย่อมดำเนินนโยบายการดูดซึมหลอมสลายอาณานิคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เผยแพร่ความคิดอุดมการณ์และวัฒนธรรมของเจ้านครสมัยศักดินา (Suzerain宗主国) และดำเนินการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม เพื่อจัดหาอาวุธทางอุดมการณ์อันทรงพลังเพื่อเสริมสร้างและรวบรวมการปกครองให้เข้าด้วยกันของอาณานิคม
ชาวฝรั่งเศสก็เช่นกัน เพื่อเสริมสร้างการควบคุมเวียดนามและฝึกอบรมนักแปล ฝรั่งเศสได้เปิดโรงเรียนสองภาษาในเวียดนามตอนใต้ และกำหนดนโยบาย "การดูดซึมหลอมสลาย" ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 เพื่อเตรียมขยายการศึกษาแนวรูปแบบฝรั่งเศสสมัยใหม่ไปยังทุกหนทุกแห่งของภาคใต้ .
อย่างไรก็ตาม ทางภาคเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ตระกูลเหงียน(Nguyen阮) ดังนั้นการสอบคัดเลือกโดยการสอบของจักรพรรดิ(科举制)แบบดั้งเดิมจึงยังคงถูกนำมาใช้ในภูมิภาคนี้ และการศึกษายังคงขึ้นอยู่กับระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)เป็นหลัก พลังของการศึกษาสไตล์แบบตะวันตกนั้นยังอ่อนแอมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการสอบของจักรพรรดิ(科举制)ของเวียดนามจนกระทั่งปีค.ศ. 1919 จึงค่อยถูกยกเลิก ซึ่งช้ากว่าจีนถึงสิบสี่ปี จากสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกและความแตกต่างในด้านการศึกษาระหว่างภาคเหนือและภาคใต้
ความแตกต่างในระบบการศึกษานี้นำไปสู่ความแตกต่างทางความคิดอุดมการณ์ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ ผลกระทบของความแตกต่างนี้มีมายาวนานและกว้างขวาง
ในช่วงทศวรรษที่ 1940 เวียดนามตอนใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากการศึกษาของตะวันตก ลัทธิขงจื๊อแบบคลาสสิกถูกละทิ้งไปนานแล้ว และเริ่มคิดถึงแนวคิดสมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ ความสามารถพิเศษ และอารยธรรม อย่างไรก็ตาม ครอบครัวข้าราชการท้องถิ่นในภาคเหนือยังคงถือว่าลัทธิขงจื๊อเป็นวัฒนธรรมและถือเป็นสมบัติ
หลังจากที่ชาวอเมริกันรับช่วงต่อจากฝรั่งเศสในฐานะผู้ควบคุมที่แท้จริงของเวียดนามใต้ พวกเขายังคงมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติจริงและความคิดริเริ่มของนักเรียน ส่งเสริมการฝึกฝนผู้มีความสามารถในภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือเน้นปลูกฝังความรักชาติและการรู้หนังสือการอ่านออกเขียนได้ และเสนอให้เผยแพร่การศึกษาแก่คนส่วนใหญ่ของประชาชนในหมู่คนทำงาน
กล่าวได้ง่ายๆว่า เวียดนามทางภาคใต้สิ่งที่ดำเนินการคือการศึกษาชั้นยอดระดับหัวกะทิ และมุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังความสามารถพิเศษของบุคคล ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในภาคเหนือคือการเผยแพร่ระดับมาตรฐานการรู้หนังสือ
ลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างภาคเหนือและภาคใต้นำไปสู่การขยายความแตกต่างทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมระหว่างภาคเหนือและภาคใต้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วเวียดนามทางภาคใต้ได้รับอิทธิพลเปลี่ยนแปลงเอนเอียงไปทางตะวันตก ในขณะที่เวียดนามทางภาคเหนือได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ การแตกแยกจากกันและความแตกต่างเช่นนี้ แม้หลังจากการรวมตัวกันของภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้ง เนื่องจากความเคยชินเฉื่อยชาและความสนใจทางประวัติศาสตร์รวมทั้งผลประโยขน์ต่างๆ ทั้งสองก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ในเวลาอันสั้น
ใครก็ตามที่คุ้นเคยกับเวียดนามจะรู้ดีว่าช่องว่างระหว่างเวียดนามเหนือและใต้นั้นค่อนข้างใหญ่ และช่องว่างก็มีแนวโน้มกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เวียดนามตอนเหนือส่วนใหณ่เป็นภูเขา ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบ และมีอ่าวทะเลเหมาะกับทำท่าเรือและสถานที่ท่องเที่ยวรีสอร์ทที่ดีเยี่ยมหลายแห่ง ซึ่งทำให้สภาพเงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้โดยธรรมชาติแล้วดีกว่าทางภาคเหนือ
เช่นเดียวกับจีน โฮจิมินห์ซิตี้ทางตอนใต้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนามในฐานะเมืองหลวงของเวียดนามใต้
ก่อนการรวมตัวของประเทศ โฮจิมินห์ซิตี้เป็นที่รู้จักในนามไซ่ง่อน เป็นศูนย์กลางการปกครองและเขตปกครองหลายแห่งของมหาอำนาจตะวันตก และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "ปารีสน้อยแห่งตะวันออก"
😎โปรดติดตามบทความ #เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะแบ่งแยกประเทศอีกครั้งหรือไม่ ตอน02 ที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า😎
🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰