• เรื่องน้ำๆ ในความทรงจำ

    เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายล่าสุดนี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมา ราวปี 41-42 ซึ่งเป็นช่วงต่อเนื่องของวิกฤติต้มยำกุ้ง การจะมีงานทำเป็นเรื่องแสนสาหัสมาก วันหนึ่ง กรมฯ ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เปิดรับสมัครข้าราชการ 3 อัตรา ข้าพเจ้าซึ่งยังไม่ได้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันหลังจบมา ได้ไปสมัครสอบแข่งขันร่วมกับผู้คนหลากหลายพันคน โดยข้อสอบมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย เมื่อประกาศผลสอบ มีผู้ผ่านข้อเขียนเพียง 6 คน แน่นอนข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในนั้น ความหวังมาล้นปรี่ แถมแอบฝันเล็กน้อย คือข้าพเจ้าอยากทำงานที่ได้รับใช้ใกล้ชิดในหลวง ร.9 และรู้ว่าในหลวง ร.9 ให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำมาก การได้ทำงานในกรมฯ นี้ จะทำให้ฝันกลางวันของข้าพเจ้า เป็นจริง
    มาถึงตอนนี้ ข้าพเจ้าจำอีก 5 คนที่เหลือไม่ได้แล้ว จำไม่ได้แล้วด้วยซ้ำว่ามีผู้หญิงกี่คนผู้ชายกี่คน พวกเราไม่ได้คุยกัน แต่ละคนอยู่ในมุมเงียบของตัวเอง บอกตามตรง ข้าพเจ้าไม่ตื่นเต้นกับการ สัมภาษณ์เลย เพราะก่อนจะมาถึงจุดนี้ ข้าพเจ้าผ่านการสัมภาษณ์มาอย่างโชกโชน อย่าลืมว่ามันเป็นช่วงวิกฤติ งานไม่มี แต่ถ้าส่งจดหมายสมัครงานไปที่ไหน เขาก็เรียกเราไปสัมภาษณ์เสมอ คงจะกลัวเราเหงาและคิดมาก เรื่องการสัมภาษณ์งานในช่วงนั้น สามารถเขียนได้อีกยาว แต่ความรู้สึกของข้าพเจ้าจะเป็นแบบนี้ ไปด้วยความหวัง ออกจากห้องสัมภาษณ์ด้วยความห่อเหี่ยว พ้นประตูบริษัทด้วยใจที่รู้ว่าชีวิตต้องไปต่อ แต่การสัมภาษณ์ที่กรมฯ ในวันนั้น ข้าพเจ้าออกจากห้องสัมภาษณ์ด้วยอาการแบบที่เรียกว่าน้ำท่วมปากระดับน้ำล้นมาถึงจมูกจนสำลักน้ำ
    กรรมการสัมภาษณ์ เป็นสุภาพสตรี 3 ท่าน การสัมภาษณ์เริ่มด้วยบทสนทนาทั่วไป แนะนำตัว การศึกษา ครอบครัว ต่อมาก็เป็นคำตอบในข้อสอบอัตนัย ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่ามีคำถามอะไรบ้าง มีกี่ข้อ แต่จำได้ว่ากรรมการฯ สนใจคำตอบของข้าพเจ้าอยู่สองข้อ ข้อหนึ่งให้อธิบายความสัมพันธ์อะไรสักอย่างของน้ำ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้ว แต่คำตอบข้อนี้ ในหน้ากระดาษคำตอบว่างๆ ข้าพเจ้าเขียนแค่ สมการคณิตศาสตร์ พร้อมกับคำนิยามตัวแปรแต่ละตัว กรรมการฯ ถามว่า สมการได้มาอย่างไร ข้าพเจ้าอธิบายว่า ข้าพเจ้าสร้างโมเดลคณิตศาสตร์ในกระดาษทด กำหนดตัวแปร สร้างความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของตัวแปรแต่ละตัว แล้วแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จนได้ความสัมพันธ์ออกมา กรรมการถามว่า สมการถูกไหม ข้าพเจ้าตอบทันทีว่าไม่แม่นยำ ไม่ใช่เพราะข้าพเจ้าแก้สมการผิด แต่เป็นเพราะมีเวลาจำกัด โมเดลเลยหยาบเกินไป ขาดตัวแปรอีกหลายตัว ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ความถูกต้องจะมากขึ้น
    ดูกรรมการจะทึ่ง และทำให้รู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นคนเดียวที่ตอบแบบนี้ อันนี้ต้องขอบคุณ นีลส์ โบร์(Niels Bohr) ตอนสอบจบปริญญาเอก โบร์ ส่งกระดาษแผ่นเดียว ที่เขียนสมการคณิตศาสตร์อธิบาย โครงสร้างอะตอม ข้าพเจ้าแค่ยืมวิธีของโบร์มาใช้
    อีกข้อคือทำไมถึงอยากทำงานที่กรมฯ แน่นอนข้าพเจ้าซ่อนความฝันและความจริงไว้ คือ อยากมีงานทำมั่นคง แต่คำตอบของข้าพเจ้ามาจากประสบการณ์ตรง ข้าพเจ้ามักจะไปช่วยเพื่อน ทำนาเกี่ยวข้าวเสมอ ในปีที่น้ำดี ชีวิตมันก็ดีไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าฟ้าฝนไม่ดี เพื่อนของข้าพเจ้า จะขาดโรงเรียน ข้าวยืนต้นตาย เพื่อนต้องไปรับจ้าง บางคนต้องออกจากการศึกษา เพราะต้องติดตามครอบครัวไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ น้ำคือชีวิตจริงจริง เมื่อถูกถามว่าทำไมถึงอยากทำงานที่กรมฯ นี้ ข้าพเจ้าสามารถตอบได้ทันทีว่า ต้องการสำรวจแหล่งน้ำ จัดสร้างแหล่งน้ำ วางระบบชลประทาน เพื่อให้พี่น้องคนไทย มีน้ำใช้อย่างทั่วถึง จริงจริงแล้วตอนเจอคำถามครั้งแรก ข้าพเจ้าไม่ได้นึกถึงภาพใหญ่ขนาดนั้น ข้าพเจ้าแค่นึกถึงเพื่อน แค่คิดว่าถ้าเพื่อนมีแหล่งน้ำ เพื่อนก็ไม่ต้องขาดเรียน แล้วก็คิดต่อไปว่า ถ้าหมู่บ้าน ตำบลมีแหล่งน้ำ หลายครอบครัวไม่ต้องอพยพ แล้วมันถึงค่อยเลยเถิดไปถึงการคิดจัดทำแหล่งน้ำและวางระบบเชื่อมโยงระดับประเทศ ซึ่งเป็นคำตอบสุดท้าย ในกระดาษคำตอบ ที่จำได้เพราะ กรรมการฯ บอกว่า งานในตำแหน่งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวัดคุณภาพน้ำ ไม่เกี่ยวอะไรกับที่ข้าพเจ้าบรรยายเลย (กรรมแท้!) อย่างไรก็ตาม กรรมการแจ้งว่า ข้าพเจ้าได้คะแนนในส่วนอัตนัยดีเยี่ยม
    อะไรๆ มักจะเริ่มแบบนี้เสมอ สงบ สันติ คำชื่นชม สำหรับเด็กหนุ่มอายุ 21-22 มันยิ้มไม่หุบ ความฝันความหวังมันอยู่ตรงหน้า แต่แล้วชีวิตมันก็ฟาดเปรี้ยง ดูเหมือนมันจะเริ่มด้วยประโยคแบบ รู้สึกเสียดายและเสียใจ ที่จะ ต้องแจ้งให้ทราบว่า ทั้งสามตำแหน่งมีคนในอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจำได้อีกอย่างว่า แม้แต่กรรมการก็รู้สึกแบบไม่อยากจะพูดเหมือนกัน ในส่วนของข้าพเจ้า ก็แบบที่แจ้งให้ทราบมันอยากจะพูดอะไรแต่พูดไม่ออก รู้สึกในหัวมันแบบ โหวงๆ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่าจบการสัมภาษณ์กันยังไง แต่ดูเหมือนข้าพเจ้าจะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น แค่เหมือนกับว่า มันรู้อยู่แล้วว่าต้องมีเรื่องแบบนี้ เราโตมาแบบ คนใน เด็กท่าน นายสั่งมา ประมาณนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ได้รับการบอกตรงๆ แบบข้าพเจ้า เอาเข้าจริง ข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่า ก็ดีเหมือนกัน คือ ไม่มีอะไรติดค้างว่าทำไมข้าพเจ้าถึงไม่ได้ ออกจะรู้สึกขอบคุณที่กรรมการฯ กล้าหาญพอที่จะแจ้งให้ทราบ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องบอกก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ข้าพเจ้ากลับมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าข้าพเจ้าก็เป็นคนหนึ่งที่มีศักยภาพ เพียงแค่ว่าโอกาสยังมาไม่ถึง อย่างที่บอก ชีวิตในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่มีเวลาให้เราอาลัยอาวรณ์ หรือฟูมฟาย เมื่อเดินออกจากกรมฯ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้มีความรู้สึกแบบเสียดายแล้ว แค่กลับที่พัก หาอะไรกิน ตี่นมามีลมหายใจ ก็ออกไปท้าทายวิกฤติต่อ เรื่องก็มีเท่านี้

    เครดิตภาพ: ผู้จัดการออนไลน์
    เรื่องน้ำๆ ในความทรงจำ เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายล่าสุดนี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมา ราวปี 41-42 ซึ่งเป็นช่วงต่อเนื่องของวิกฤติต้มยำกุ้ง การจะมีงานทำเป็นเรื่องแสนสาหัสมาก วันหนึ่ง กรมฯ ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เปิดรับสมัครข้าราชการ 3 อัตรา ข้าพเจ้าซึ่งยังไม่ได้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันหลังจบมา ได้ไปสมัครสอบแข่งขันร่วมกับผู้คนหลากหลายพันคน โดยข้อสอบมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย เมื่อประกาศผลสอบ มีผู้ผ่านข้อเขียนเพียง 6 คน แน่นอนข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในนั้น ความหวังมาล้นปรี่ แถมแอบฝันเล็กน้อย คือข้าพเจ้าอยากทำงานที่ได้รับใช้ใกล้ชิดในหลวง ร.9 และรู้ว่าในหลวง ร.9 ให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำมาก การได้ทำงานในกรมฯ นี้ จะทำให้ฝันกลางวันของข้าพเจ้า เป็นจริง มาถึงตอนนี้ ข้าพเจ้าจำอีก 5 คนที่เหลือไม่ได้แล้ว จำไม่ได้แล้วด้วยซ้ำว่ามีผู้หญิงกี่คนผู้ชายกี่คน พวกเราไม่ได้คุยกัน แต่ละคนอยู่ในมุมเงียบของตัวเอง บอกตามตรง ข้าพเจ้าไม่ตื่นเต้นกับการ สัมภาษณ์เลย เพราะก่อนจะมาถึงจุดนี้ ข้าพเจ้าผ่านการสัมภาษณ์มาอย่างโชกโชน อย่าลืมว่ามันเป็นช่วงวิกฤติ งานไม่มี แต่ถ้าส่งจดหมายสมัครงานไปที่ไหน เขาก็เรียกเราไปสัมภาษณ์เสมอ คงจะกลัวเราเหงาและคิดมาก เรื่องการสัมภาษณ์งานในช่วงนั้น สามารถเขียนได้อีกยาว แต่ความรู้สึกของข้าพเจ้าจะเป็นแบบนี้ ไปด้วยความหวัง ออกจากห้องสัมภาษณ์ด้วยความห่อเหี่ยว พ้นประตูบริษัทด้วยใจที่รู้ว่าชีวิตต้องไปต่อ แต่การสัมภาษณ์ที่กรมฯ ในวันนั้น ข้าพเจ้าออกจากห้องสัมภาษณ์ด้วยอาการแบบที่เรียกว่าน้ำท่วมปากระดับน้ำล้นมาถึงจมูกจนสำลักน้ำ กรรมการสัมภาษณ์ เป็นสุภาพสตรี 3 ท่าน การสัมภาษณ์เริ่มด้วยบทสนทนาทั่วไป แนะนำตัว การศึกษา ครอบครัว ต่อมาก็เป็นคำตอบในข้อสอบอัตนัย ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่ามีคำถามอะไรบ้าง มีกี่ข้อ แต่จำได้ว่ากรรมการฯ สนใจคำตอบของข้าพเจ้าอยู่สองข้อ ข้อหนึ่งให้อธิบายความสัมพันธ์อะไรสักอย่างของน้ำ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้ว แต่คำตอบข้อนี้ ในหน้ากระดาษคำตอบว่างๆ ข้าพเจ้าเขียนแค่ สมการคณิตศาสตร์ พร้อมกับคำนิยามตัวแปรแต่ละตัว กรรมการฯ ถามว่า สมการได้มาอย่างไร ข้าพเจ้าอธิบายว่า ข้าพเจ้าสร้างโมเดลคณิตศาสตร์ในกระดาษทด กำหนดตัวแปร สร้างความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของตัวแปรแต่ละตัว แล้วแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จนได้ความสัมพันธ์ออกมา กรรมการถามว่า สมการถูกไหม ข้าพเจ้าตอบทันทีว่าไม่แม่นยำ ไม่ใช่เพราะข้าพเจ้าแก้สมการผิด แต่เป็นเพราะมีเวลาจำกัด โมเดลเลยหยาบเกินไป ขาดตัวแปรอีกหลายตัว ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ความถูกต้องจะมากขึ้น ดูกรรมการจะทึ่ง และทำให้รู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นคนเดียวที่ตอบแบบนี้ อันนี้ต้องขอบคุณ นีลส์ โบร์(Niels Bohr) ตอนสอบจบปริญญาเอก โบร์ ส่งกระดาษแผ่นเดียว ที่เขียนสมการคณิตศาสตร์อธิบาย โครงสร้างอะตอม ข้าพเจ้าแค่ยืมวิธีของโบร์มาใช้ อีกข้อคือทำไมถึงอยากทำงานที่กรมฯ แน่นอนข้าพเจ้าซ่อนความฝันและความจริงไว้ คือ อยากมีงานทำมั่นคง แต่คำตอบของข้าพเจ้ามาจากประสบการณ์ตรง ข้าพเจ้ามักจะไปช่วยเพื่อน ทำนาเกี่ยวข้าวเสมอ ในปีที่น้ำดี ชีวิตมันก็ดีไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าฟ้าฝนไม่ดี เพื่อนของข้าพเจ้า จะขาดโรงเรียน ข้าวยืนต้นตาย เพื่อนต้องไปรับจ้าง บางคนต้องออกจากการศึกษา เพราะต้องติดตามครอบครัวไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ น้ำคือชีวิตจริงจริง เมื่อถูกถามว่าทำไมถึงอยากทำงานที่กรมฯ นี้ ข้าพเจ้าสามารถตอบได้ทันทีว่า ต้องการสำรวจแหล่งน้ำ จัดสร้างแหล่งน้ำ วางระบบชลประทาน เพื่อให้พี่น้องคนไทย มีน้ำใช้อย่างทั่วถึง จริงจริงแล้วตอนเจอคำถามครั้งแรก ข้าพเจ้าไม่ได้นึกถึงภาพใหญ่ขนาดนั้น ข้าพเจ้าแค่นึกถึงเพื่อน แค่คิดว่าถ้าเพื่อนมีแหล่งน้ำ เพื่อนก็ไม่ต้องขาดเรียน แล้วก็คิดต่อไปว่า ถ้าหมู่บ้าน ตำบลมีแหล่งน้ำ หลายครอบครัวไม่ต้องอพยพ แล้วมันถึงค่อยเลยเถิดไปถึงการคิดจัดทำแหล่งน้ำและวางระบบเชื่อมโยงระดับประเทศ ซึ่งเป็นคำตอบสุดท้าย ในกระดาษคำตอบ ที่จำได้เพราะ กรรมการฯ บอกว่า งานในตำแหน่งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวัดคุณภาพน้ำ ไม่เกี่ยวอะไรกับที่ข้าพเจ้าบรรยายเลย (กรรมแท้!) อย่างไรก็ตาม กรรมการแจ้งว่า ข้าพเจ้าได้คะแนนในส่วนอัตนัยดีเยี่ยม อะไรๆ มักจะเริ่มแบบนี้เสมอ สงบ สันติ คำชื่นชม สำหรับเด็กหนุ่มอายุ 21-22 มันยิ้มไม่หุบ ความฝันความหวังมันอยู่ตรงหน้า แต่แล้วชีวิตมันก็ฟาดเปรี้ยง ดูเหมือนมันจะเริ่มด้วยประโยคแบบ รู้สึกเสียดายและเสียใจ ที่จะ ต้องแจ้งให้ทราบว่า ทั้งสามตำแหน่งมีคนในอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจำได้อีกอย่างว่า แม้แต่กรรมการก็รู้สึกแบบไม่อยากจะพูดเหมือนกัน ในส่วนของข้าพเจ้า ก็แบบที่แจ้งให้ทราบมันอยากจะพูดอะไรแต่พูดไม่ออก รู้สึกในหัวมันแบบ โหวงๆ ข้าพเจ้าจำไม่ได้แล้วว่าจบการสัมภาษณ์กันยังไง แต่ดูเหมือนข้าพเจ้าจะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น แค่เหมือนกับว่า มันรู้อยู่แล้วว่าต้องมีเรื่องแบบนี้ เราโตมาแบบ คนใน เด็กท่าน นายสั่งมา ประมาณนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ได้รับการบอกตรงๆ แบบข้าพเจ้า เอาเข้าจริง ข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่า ก็ดีเหมือนกัน คือ ไม่มีอะไรติดค้างว่าทำไมข้าพเจ้าถึงไม่ได้ ออกจะรู้สึกขอบคุณที่กรรมการฯ กล้าหาญพอที่จะแจ้งให้ทราบ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องบอกก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ข้าพเจ้ากลับมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าข้าพเจ้าก็เป็นคนหนึ่งที่มีศักยภาพ เพียงแค่ว่าโอกาสยังมาไม่ถึง อย่างที่บอก ชีวิตในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่มีเวลาให้เราอาลัยอาวรณ์ หรือฟูมฟาย เมื่อเดินออกจากกรมฯ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้มีความรู้สึกแบบเสียดายแล้ว แค่กลับที่พัก หาอะไรกิน ตี่นมามีลมหายใจ ก็ออกไปท้าทายวิกฤติต่อ เรื่องก็มีเท่านี้ เครดิตภาพ: ผู้จัดการออนไลน์
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 194 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง” ๑๕ โครงการ ครอบคลุม ๑๑ จังหวัด ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง

    จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน ทำให้ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมีมากขึ้น ระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำจาก ผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ ส่งผลทำให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรทุกน้ำแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปี
    กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ออกแบบ และวางแผนจัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา ภัยแล้ง โดยการก่อสร้างระบบประปาบาดาลในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ประกอบกับการยินยอมของราษฎรให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ และความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

    .............................................................................................
    เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๙
    พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังอ่างเก็บน้ำแม่ลี้ วัดบ้านนากลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพระราชกระแสว่า “ปัญหาเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับบริโภคและสำหรับเพาะปลูก ควรรีบทำการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน ตลอดจนทำแผนที่แสดงแหล่งน้ำให้ละเอียด”

    #น้ำคือชีวิต#โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ#น้ำบาดาล#สยามโสภา#thaitimes

    https://youtu.be/F_etB7slcU0?si=ChL7TfEPf-prd6XH
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง” ๑๕ โครงการ ครอบคลุม ๑๑ จังหวัด ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน ทำให้ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมีมากขึ้น ระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำจาก ผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ ส่งผลทำให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรทุกน้ำแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ออกแบบ และวางแผนจัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา ภัยแล้ง โดยการก่อสร้างระบบประปาบาดาลในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ประกอบกับการยินยอมของราษฎรให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ และความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ............................................................................................. เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังอ่างเก็บน้ำแม่ลี้ วัดบ้านนากลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพระราชกระแสว่า “ปัญหาเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำสำหรับบริโภคและสำหรับเพาะปลูก ควรรีบทำการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน ตลอดจนทำแผนที่แสดงแหล่งน้ำให้ละเอียด” #น้ำคือชีวิต​ #โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ​ #น้ำบาดาล​ #สยามโสภา​ #thaitimes https://youtu.be/F_etB7slcU0?si=ChL7TfEPf-prd6XH
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 788 มุมมอง 0 รีวิว